SAU Blog

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

Posted by SAU TEAM on Apr 2, 2020 2:49:24 PM

นิติศาสตร์

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

    เมื่อกฎหมายกลายเป็นเรื่องสำคัญ คณะ นิติศาสตร์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่หลายคนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แล้ว การเรียนในคณะนี้ยังสร้างโอกาสให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพทนายความหรือผู้พิพากษาเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนที่ดีด้วย แล้วอาชีพน่าสนใจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

    เรียนจบคณะนิติศาสตร์ นอกจากจะประกอบอาชีพสายกฎหมายที่มีทั้งงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว คุณยังสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในการทำงานในสายงานอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ด้านการเงิน, วิชาการ, สังคมสงเคราะห์ และการเมือง เป็นต้น โดยมีอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้

  • นิติกร ก้าวแรกของคนเรียนจบนิติศาสตร์
        นิติกร ทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างด้านกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น หรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้อาจจะยังไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย ทำให้เป็นอาชีพที่นิยมสำหรับเด็กจบใหม่ ซึ่งค่าตอบแทนที่จะได้เริ่มต้นประมาณ 15,000-18,000 บาท

  • ผู้จัดการและพนักงานฝ่ายบุคคล อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ
        ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาแะจัดสรรคบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะต้องบริหารจัดการ พัฒนา และประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยส่วนมากจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 17,000 บาทขึ้นไป

  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สายงานด้านการเงินที่คุณก็ทำได้
         เจ้าหน้าที่สินเชื้อ เป็นตำแหน่งงานที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ทั้งหมด พิจารณาการให้สินเชื่อ และแจกแจงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000-16,000 บาท

  • ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อีกหนึ่งอาชีพสายกฎหมาย
         ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านกฎหมาย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การร่างสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป โดยจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน

  • ผู้พิพากษา ผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล
         ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักในการควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาล โดยมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป

  • นักวิชาการและอาจารย์ งานด้านกฎหมายสายวิชาการ
         มีหลายคนเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต่อยอดความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อประกอบอาชีพนักวิชาการและอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้เริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป

  • พนักงานอัยการ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน
         พนักงานอัยการ มีหน้าที่สำคัญคือ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้รับค่าตอบแทนสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว

  • ทนายความ อาชีพอิสระที่คนเรียนสายกฎหมายทำได้
         ทนายความ มีหน้าที่สำคัญในการผดุงความยุติธรรม โดยรับปรึกษากฎหมาย ให้บริการด้านกฏหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านให้คำแนะนำต่อลูกความเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆของกฎหมายในแง่ของธุรกิจและส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยค่าตอบแทนอาจสูงถึงหลักแสน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับด้วย

         นอกจากนี้ ยังมีงานราชการสายยุติธรรมของบรรดากระทรวงต่าง ๆ เช่น เจ้าพนักงานสรรพากร ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ศุลกากร นายทหารฝ่ายพระธรรมนูญ ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดอบจ. เป็นต้น

         บรรดาอาชีพเหล่านี้ คงจะแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เรียนจบนิติศาสตร์มีอาชีพรองรับที่แน่นอน และมีสายงานค่อนข้างหลากหลาย เพราะความรู้ด้านกฎหมายสามารถนำต่อยอดในการประกอบอาชีพสายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น คณะนิติศาสตร์จึงเป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เปิดสอน ซึ่งใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ www.sau.ac.th/

อาชีพนักกฎหมาย

 

 

 

Topics: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, SAU, นิติศาสตร์, ทนายความ, นักกฎหมาย

ต้องการข้อมูลทาง Line เชื่อมต่อ SAU Connect

ติดตามข่าวสาร

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

See all